28/09/2023

ธนาคารหนูน้อยในโรงเรียนอังกฤษ


นักเรียนที่ได้รับหน้าที่เป็นพนักงานธนาคารและร้านค้า นับว่าเป็นเด็กที่มีความรับผิดชบสูงมาก เพราะพวกเขาต้องทำหน้าที่นี้ถึง 2 ปี และต้องมาทำงานตรงเวลาทุกๆ วัน รองครูใหญ่บอกว่า เราใช้เวลานั่งคุยประชุม ดื่มชาและบิสกิตกับเด็กๆ เหมือนกับการทำงานในชีวิตจริงๆ



สร้างสกุลเงิน บริหารดูแล และใช้ได้จริงๆ

By : Zoe Myall


เด็กได้เริ่มต้นเรียนรู้การจัดการเงินของตัวเอง

คงไม่ใช่เรื่องที่เร็วจนเกินไปสำหรับการเรียนรู้เรื่องเงินตรา เด็กๆ ที่โรงเรียนประถมศึกษาเคอร์ตัน (Kirton Primary School) ในเมืองบอสตัน เขตลินคอล์นไชร์ UK ได้เรียนรู้เรื่องการค้าขายในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ตั้งแต่อายุ 5 ปีขึ้นไป ก็ได้เข้าใจระบบการเงินกันแล้ว




Booking.com


โรงเรียนเคอร์ตัน หยิบยกเอาเรื่องนี้ขึ้นมาเปิดเป็นระบบธนาคาร ให้หนูน้อยได้เรียนรู้กันและทุกคนในโรงเรียนก็ถือว่าเป็นธนาคารของตัวเอง โดยมีร้านค้าที่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตรากับสิ่งของได้จริงด้วย

เวลาพักเที่ยง ไม่ใช่เวลาที่เอาไว้เล่นแค่อย่างเดียวแล้ว ที่โรงเรียนเด็กๆ ได้เริ่มเรียนรู้สกุลเงินของตัวเอง โดยเรียกว่า “เคิร์ทส์” (Kirts) เด็กๆ ทุกคนจะใช้จ่ายในร้านค้า หรือเก็บสะสมก็ได้ และธนาคารในโรงเรียนใช้ชื่อว่า “Paliament Bank”

แคลร์ โฟวาร์กิว รองครูใหญ่ของโรงเรียน กล่าวว่า “เด็กๆ จะได้รับรางวัลสำหรับการทำงานอะไรบางอย่างแล้วสำเร็จ ตัวอย่างเช่น สะกดคำได้ 10 เต็ม 10, ทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ หรือเข้าเรียนโดยไม่เคยสาย ขาด ลา”

คุณครูแคลร์ โฟวาร์กิว ผู้จุดประกายระบบการเงินในโรงเรียนประถมศึกษาเคอร์ตัน

“เราเปิดโอกาสให้เด็กๆ มีเงินงอกเงยขึ้น พวกเขาก็สามารถนำเอา Kirts ไปใช้ได้ในกิจกรรมของโรงเรียน รวมทั้งซื้อหนังสือในโรงเรียนด้วย”

“เราพยายามสร้างเอกลัษณ์บางอย่าง ที่จะช่วยพัฒนาเด็กได้เรียนรู้ และทำให้เด็กๆ รักการเข้าเรียนเพิ่มขึ้น มันพัฒนาขึ้นๆ ในสกุลเงินของโรงเรียน ผลที่ได้รับเกินความคาดหมายจริง”


“มันจะปลูกฝังในจิตใจเด็กๆ ว่า ถ้าคุณทำงานหนัก คุณจะได้รับรางวัล”

รองครูใหญ่ Claire Fovargue


ทั้งร้านค้า และธนาคาร มีทีมนักเรียนคอยบริหารจัดการ ในเวลาช่วงพักเรียน และพักกลางวัน จะเป็นช่วงที่เข้ามาฝาก-ถอน และใช้ Kirts ซื้อของใช้ของเล่นได้

ในทีมนักเรียนมี คณะผู้บริหาร (Board of Directors) ซึ่งจะเป็นผู้เซ็นชื่อรับรองการเปิดบัญชี ทั้งในร้านค้าและธนาคาร ที่ได้รับเอกสารจากการกรอกแบบฟอร์มของเด็กๆ อายุตั้งแต่ 5-11 ปี จำนวน 500 คน ซึ่งแต่ละคนจะมีบัญชีธนาคารเป็นของตัวเอง

ในแแต่ละเทอมที่เด็กๆ ได้ฝากเงินไว้ในธนาคาร จะรับดอกเบี้ย 10% นับว่ามีมูลค่ามากพอสมควร สำหรับเด็กๆ ที่นิยมสะสมแบบระยะยาว

แคลร์ บอกว่า “เด็กที่อายุน้อยๆ มักจะชอบใช้จ่ายทันที แต่เราก็จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการสะสมเอาไว้เพื่อซื้อของที่มีมูลค่าสูงๆ ขึ้นในร้านได้”

“เด็กบางคนสะสมจนสามารถนำมาซื้อเป็นของขวัญให้กับแม่ในวันแม่แห่งชาติได้ น่ารักจริงๆ”

 

อัตราแลกเปลี่ยนคือ 3 เคิร์ทส์ เท่ากับ 10 เพนนี

ลูกบอลของเล่น หนังสือ ยางลบ หรือปากกากากเพชร เป็นของที่นิยมกันมากในร้านค้า Kirton Store แต่ของที่มีมูลค่าสูงขึ้นกว่านั้นอย่างเกมแบบกล่องก็ต้องใช้เวลาสะสมกันมากขึ้น

เวลาพักเที่ยงเด็กๆ จะตื่นเต้นกันมาก มาคอยยืนคิวกันด้านนอก พนักงานของธนาคารก็จะทำงานอย่างระมัดระวังมาก เมื่อมีลูกค้ามาถอน หรือฝากเงิน ถัดจากธนาคารไปก็จะเป็นร้านค้าสำหรับใครที่อยากจะซื้อของ

เด็กบางคน ได้รับเงินจากการทดสอบสะกดคำ แล้วนำเงินมาซื้อยางลบเล็กๆ

หนูน้อย เอวี่ เล็งตุ๊กตาหมีเท็ดดี้เอาไว้ แล้วพยายามหาเงินเพิ่มด้วยการมาเรียนครบ ทดสอบสะกดคำ ทดสอบการท่องสูตรคูณ หนูน้อยบอกว่า ต้องใช้เวลาถึง 10 สัปดาห์ กว่าจะได้หมีมาครอบครอง

หนูน้อยเอวี่ ผู้คว้าตุ๊กตาหมีเท็ดดี้มาด้วยเงินเก็บสะสมถึง 10 สัปดาห์

นักเรียนที่ได้รับหน้าที่เป็นพนักงานธนาคารและร้านค้า นับว่าเป็นเด็กที่มีความรับผิดชบสูงมาก เพราะพวกเขาต้องทำหน้าที่นี้ถึง 2 ปี และต้องมาทำงานตรงเวลาทุกๆ วัน รองครูใหญ่บอกว่า เราใช้เวลานั่งคุยประชุม ดื่มชาและบิสกิตกับเด็กๆ เหมือนกับการทำงานในชีวิตจริงๆ

เมื่อตำแหน่งพนักงานว่าง ก็จะมีการติดโปสเตอร์แจ้งคุณสมบัติอะไรที่ต้องการ ไปทั่วโรงเรียนเพื่อบอกว่าธนาคาร หรือร้านค้า ต้องการพนักงานใหม่  เด็กที่สนใจก็จะมาที่สำนักงานแล้วกรอกใบสมัคร

ปารีส อายุ 11 ขวบ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคาร บอกว่า “หนูสนุกกับงานนี้มาก ไม่รู้สึกว่างานหนักเลย หนูได้รับการอบรมให้ทำงานได้อย่างดี”

“เราได้เรียนรู้ว่า ไม่ใช่แค่นำเคิร์ทส์มาใช้จ่ายเท่านั้น บางครั้งเราก็ต้องเก็บสะสมเอาด้วย ทุกๆ คนเรียนหนักขึ้น ก็เพราะต้องการจะได้เคิร์ทส์เพิ่มขึ้น”

ลิลี่ วัย 10 ขวบ ผู้จัดการธนาคาร บอกว่า “หนูชอบเวลาคนมาที่ธนาคารและนำเงินมาฝากกันมากๆ”

แพทริเซีย วัย 11 ขวบ ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน บอกว่า “หนูรักงานนี้ เราจะได้เห็นคนหน้าใหม่ๆ ทุกวันซึ่งเป็นการเรียนรู้อย่างมากมาย”




Booking.com


แต่พวกเราจะไม่หยุดอยู่แค่นี้

คุณครูแคลร์ ก็ไม่ใช่ย่อย เธอได้รับรางวัล “คุณครูผู้พัฒนาระบบการเงินส่วนบุคคล” (Personal Finance Teacher of The Year) เมื่อเดือนมิถุนายน 2017 จากนิตยสาร Moneywise Magezine

ทางโรงเรียนก็ได้รับรางวัลจำนวน 5,000 ปอนด์ สำหรับผู้ชนะ ซึ่งได้นำเงินจำนวนนี้มาช่วยพัฒนาโครงการธนาคารและร้านค้านี้ได้

ทั้งธนาคารและร้าน อยู่ภายใต้โครงการพัฒนาทีมผู้นำอาวุโส (The Senior Leadership Team : SLT) ของโรงเรียน

รูแคลร์ บอกว่า “เรามีโครงการจะพัฒนาขึ้นเป็นตลาดจากข้างนอก ด้วยการจัดกิจกรรมพิเศษในช่วงฤดูร้อน เราอาจจะพัฒนาขึ้นตลาดและร้านอาหารด้วย”

“เราจะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ระบบการเงิน (Centre of Excellence for financial education และเป้าหมายจะทำให้ได้ภายใน 3 ปี”

ธนาคารและร้านค้าของโรงเรียนประถมศึกษาเคอร์ตัน แห่งนี้ ได้รับการสนับสนุนอย่างดีทุกภาคส่วน และผลจากของจริงที่ได้รับก็คือ ทั้งผลการเรียน ผลการทดสอบต่างๆ ได้รับการยกระดับขึ้นมาอย่างมาก แต่อาจจะเจาะจงลงไปอีกนิด ก็คือ เด็กๆ ทุกคน ต้องการเพิ่มเงิน “เคิร์ทส์” ของตัวเอง

 

เรื่อง/ภาพ : spaldingtoday.co.uk


 

Hits: 82