
การกลับมาสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ จะนำประเทศไทยกลับไปสู่ปี 1980 ซึ่งทหารยังคงยึดครองระบอบประชาธิปไตยที่ยังไม่เติบโต
โดย : TORU TAKAHASHI หัวหน้าบรรณาธิการกองบรรณาธิการประจำภาคพื้นเอเชีย NIKKEI ASIAN REVIEW

การเลือกตั้งทั่วไป ของประเทศไทยเป็นก้าวสู่ประชาธิปไตย หลังการปกครองของทหารมา 5 ปี แต่ผลที่ได้รับ – อดีตผู้นำกลุ่มรัฐประหาร พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี ย้อนกลับไปสู่ “ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบในช่วงปี 1980”
ในช่วงหลายปีหลังจากการปฏิวัติสยามในปี 1932 ระบบการเมืองของประเทศ มีรูปแบบของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่ทหารกลับวนเวียนเข้ามา เป็นผู้ยึดกุมอำนาจ และบังคับให้ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายค้าน ปฏิบัติตามเจตจำนงของตน
ในที่สุดสิ่งนี้ก็เปลี่ยนไปในปี 1980 เมื่อ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ผู้ล่วงลับ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นเวลาแปดปี แม้ว่าเขาจะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ แต่พล.อ.เปรม ปฏิบัติตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยทั่วไป ปรับคณะรัฐมนตรีของเขาใหม่ และยุบสภาก่อนการเลือกตั้ง
ขณะที่ประเทศไทย อยู่ในช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่ประชาชน ก็ยังมีความสุขในช่วงเวลานั้น ประเทศมีความมั่นคง มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ปี 1988 เมื่อ พล.อ.เปรม ก้าวออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรี โดยการตัดสินใจจากประชาชน
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประกาศใช้เมื่อปี 1997 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหลีกเลี่ยงการแทรกแซงทางทหาร
อย่างไรก็ตามเมื่อ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2001 สไตล์การปกครองแบบเผด็จการและการเมืองที่ขับเคลื่อนด้วยเงินของเขา ได้ก่อให้เกิดแรงหนุนจากพรรคอนุรักษ์นิยม นี่เป็นการเปิดช่องว่างทางการเมืองอย่างกว้างขวางกับผู้สนับสนุน ทักษิณ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรในชนบท ซึ่งเป็นคนยากคนจน กลุ่มเป้าหมายของนโยบาย
ในขณะที่ฝ่ายผู้สนับสนุน ทักษิณ ชนะการเลือกตั้งหลายครั้ง แต่ฝ่ายที่แบ่งแยก ยังคงขยายวงกว้างของความแตกแยกนี้ นำไปสู่การรัฐประหารในปี 2006 และ 2014 ภายใต้การนำของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ที่ได้รับการสนับสนุนทางทหาร รวมถึงการยุบพรรคการเมืองของทักษิณ ด้วยคำสั่งศาล
รัฐธรรมนูญใหม่ปี 2017 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องได้รับเลือกเข้าสู่รัฐสภา อีกทั้งยังรวมเอา สมาชิกวุฒิสภาพ – ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากกองทัพ – มาลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี
ดังนั้น ประเทศไทยจึงกลับสู่สิ่งที่เรียกได้ว่าเป็น “รัฐบาลเทียม”
ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ หลังจากการอสัญกรรมของ พล.อ.เปรม ในเดือนพฤษภาคม เมื่ออายุ 98
ความขัดแย้งทางการเมือง เป็นเรื่องธรรมดาทั่วโลก แต่สิ่งที่ทำให้ประเทศไทยโดดเด่น คือวิธีที่ใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็คือ เริ่มจากการประท้วงต่อต้าน และเพื่อยุติการเผชิญหน้าทางการเมือง จึงใช้การรัฐประหาร แทนการเลือกตั้งหรือการดีเบตในรัฐสภา – วิธีการมาตรฐานในการแก้ไขข้อพิพาทในระบอบประชาธิปไตยของรัฐสภา
“แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งทุกๆ 4-5 ปี อาจแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยยังคงมีระบอบประชาธิปไตยอยู่ แต่ทั้งหมดนี้ ดูเหมือนว่าจะมีความเข้าใจน้อยมากเกี่ยวกับกฎพื้นฐานว่าถ้าคุณแพ้การเลือกตั้ง คุณควรยอมรับความพ่ายแพ้ และถอยไป” ศ.อิคุโอะ อิวาซากิ อดีตอาจารย์ มหาวิทยาลัย ทากูโชกุ แห่งญี่ปุ่น
บรรยากาศที่คล้ายกัน พบได้ในอินโดนีเซีย ซึ่งมีผู้เสียชีวิตแปดคนจากการประท้วงรุนแรง หลังจากพรรคฝ่ายค้าน ปฏิเสธที่จะยอมรับความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้นายโจโก วิโดโด เป็นประธานาธิบดี สมัยที่สอง
อ้างถึงผลการจัดอันดับประเทศที่มีประชาธิปไตย ประจำปี ของธนาคารโลก ประเทศไทย ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 161 จากอันดับที่ 80 ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่อินโดนีเซียขยับขึ้นเป็นอันดับที่ 101 จากอันดับที่ 160
ถึงแม้จะมีแนวโน้มของสองประเทศไปในทิศทางตรงกันข้าม และเสนอตัวเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็ตาม
แต่ทั้งสองประเทศ ยังคงเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนาทางประชาธิปไตย.◼️
ขอบคุณบทความจาก : NIKKEI ASIAN REVIEW
Hits: 257