27/09/2023

Daylight Saving Time 1 ชั่วโมงที่มนุษย์ ขอยืม…จากพระเจ้า


แนวคิดของ วิลเล็ตต์ ก็แพร่กระจายไปทั่วยุโรป และเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ไกเซอร์ วิลเฮล์ม จักรพรรดิ์แห่งเยอรมนี ก็ทดลองใช้ DST​ และยอมรับว่าเป็นประโยชน์มากในการนำแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงที่มีค่าสำหรับการทำสงคราม



หลายประเทศใช้ระบบปรับเวลาในช่วงฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูใบไม้ร่วงเพื่อที่จะให้มีแสงสว่างมากขึ้นในช่วงเย็นแต่ใครล่ะเป็นคนคิดระบบนี้ขึ้น

Daylight​ Saving​ Time (DST) เป็นการกำหนดให้นาฬิกาเดินหน้าไป 1 ชั่วโมงจากฤดูใบไม้ผลิและย้อนกลับมาในฤดูใบไม้ร่วง

ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศทั่วโลก รวมถึงเกือบทุกประเทศในยุโรป อเมริกาเหนือส่วนใหญ่ และในซีกโลกทางใต้

การใช้งานมีครอบคลุมมากกว่า 1,000​ ล้านคน แต่เรื่องนี้ก็ยังเป็นคงเลือกผิดยังคงถกเถียงกัน

เบนจามิน แฟรงคลิน นักวิทยาศาสตร์ และรัฐบุรุษชาวอเมริกัน เป็นผู้เอ่ยแนวคิดเรื่องนี้ครั้งแรก ขณะที่เขาอาศัยอยู่ในกรุงปารีสช่วงปลายศตวรรษที่ 18 เป็นแนวคิดของการอยากเพิ่มเวลาที่ใช้ชีวิต ขณะที่มีแสงแดดให้ยาวนานขึ้น

จากการสังเกตของเขาเองเมื่อปี 1784 โดยกล่าวว่า จะประหยัดเทียนไขได้อย่างมหาศาล ถ้าผู้คนตื่นเช้าขึ้นอีกซักนิดโดยการหมุนนาฬิกาเดินหน้า พวกเขาจะได้ออกมาเห็นและทำอะไรๆ ในสิ่งที่น่าสนใจได้มากยิ่งขึ้น

จนกระทั่งปี 1895 ที่นิวซีแลนด์ นักกีฏวิทยาชื่อ จอร์จ เวอร์นอน ฮัดสัน เป็นคนแรกที่นำเสนอเรื่องการหมุนนาฬิกาเดินหน้าในช่วงฤดูร้อนให้กลายเป็นเรื่องจริง

เขาเสนอการปรับ 2 ชั่วโมงเป็นเวลาห้าเดือนในแต่ละปี ชาวนิวซีแลนด์บางส่วน รู้สึกทึ่งกับความคิดของฮัดสัน แต่ก็มีคนที่เยาะเย้ยในความคิดของเขา แต่แล้วนิวซีแลนด์ก็ไม่ได้ใช้ระบบนี้ จนกระทั่งถึงปี 1927 จึงได้นำมาใช้หลังประเทศอื่นๆ เริ่มใช้มามากกว่า 10 ปีแล้ว

วิลเลียม วิลเล็ตต์ นักธุรกิจก่อสร้าง ชาวอังกฤษ ผู้พยายามผลักดันแนวความคิดของ Daylight​ Saving​ Time แต่ไม่ทันแต่เห็นปรากฎเป็นจริง เขาได้เสียชีวิตเสียก่อน (ภาพ : เก็ตตี้อิมเมจ)

ผู้มีความคิดนำไปสู่การใช้ DST ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ก็คือ นักธุรกิจก่อสร้าง ชาวอังกฤษชื่อ วิลเลี่ยม วิลเล็ตต์ ซึ่งมีชีวิตในช่วงต้นทศวรรษ 1900

วิลเล็ตต์ ตื่นแต่เช้าตรู่ในฤดูใบไม้ผลิ เขาชอบไปขี่ม้าก่อนอาหารเช้าทุกวัน แล้วก็รำพึงรำพันเป็นประจำ ว่าจะดีเพียงไหน ถ้าเรามีเวลาได้สัมผัสก็ส่วนที่ดีที่สุดในฤดูร้อน

จากแนวคิดนี้ สะท้อนถึงความเปล่าประโยชน์ของแสงแดด เขาจึงมีความคิดว่า จะหมุนนาฬิกาไปข้างหน้าในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับเขา ทำให้ได้เห็นตอนเช้าที่สวยงามสดใส และมีแสงสว่างมากขึ้นในตอนเย็นซึ่งไม่ใช่ชั่วโมงตื่นปกติของผู้คน

ในปี 1907 เขาเขียนหนังสือเล่มเล็กๆ ชื่อว่า​ The​Waste of Daylight โดยลงรายละเอียดเกี่ยวกับแนวความคิดของเขา ยื่นต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายโรเบิร์ต เพียร์ซ ซึ่งส.ส. คนนี้ก็นึกนิยมในเขตแนวคิดของ วิลเล็ต จึงได้นำเข้าเสนอต่อรัฐสภาทันทีในปี 1908

แต่เรื่องนี้ก็ยังยืดเยื้อมีการทุกเถียงกันอยู่หลายปี ต่างคนต่างมีการสนับสนุนแนวคิด ทั้งการเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์นิยม

วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ผู้เห็นด้วยกับแนวคิดของการประหยัดพลังงานด้วยการเปลี่ยนเวลา แต่ไม่สามารถผลักดันให้ผ่านรัฐสภาได้ จนกลายเป็นประเทศหลังที่นำเอาแนวคิดนี้มาใช้ ขณะที่ผู้คิด กลับเป็นชาวอังกฤษ

แต่ผู้ที่มีบทบาทในการสนับสนุนเรื่องนี้มากที่สุดก็คือ วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เขาได้ปราศรัยเรื่องนี้ใน กิลฮอลล์ เช้าวันหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิว่า

“เราอยากได้ของขวัญที่สวยงามตระการตาจึงขอยืม 1 ชั่วโมงในเดือนเมษายนและจะจ่ายคืนด้วยดอกเบี้ยทองคำในห้าเดือนข้างหน้า”

มีการต่อต้านจากเกษตรกร​ และนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ มากมาย โดยให้เหตุผลว่า เกษตรกรจำเป็นจะต้องทำงานตามดวงอาทิตย์ ไม่ใช่ทำงานตามนาฬิกา

การเปลี่ยนเวลาจะทำให้พวกเขา ต้องหลุดออกไปจากโลกของเกษตรกรรม

ส่วนนักวิทยาศาสตร์มีข้อกังวล เกี่ยวกับการขาดความต่อเนื่องและรวบรวมข้อมูลในการสำรวจวิจัย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนในระบบเวลา และการอ้างอิงเชิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของทั่วโลกได้

แต่ว่าวิลเล็ตต์ ยังไม่หยุดยั้งการนำแนวคิดนี้ เพื่อเปลี่ยนโลก

เขาพยายามผลักดันเรื่องนี้ให้ผ่านร่างกฎหมายตลอดระยะเวลาหลายปี จนเขาเสียชีวิตในปี 1915 เสียก่อน ​จึงไม่ได้เห็นแนวความคิดของเขาเป็นจริงขึ้นมา

ไกเซอร์ วิลเฮล์ม ที่สอง จักรพรรดิ์แห่งเยอรมนี ผู้นำแนวคิดของการเปลี่ยนเวลา เพื่อประหยัดพลังงาน มาใช้เป็นประเทศแรก

อย่างไรก็ตามแนวคิดของ วิลเล็ตต์ ก็แพร่กระจายไปทั่วยุโรป และเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ไกเซอร์ วิลเฮล์ม จักรพรรดิ์แห่งเยอรมนี ก็ทดลองใช้ DST​ และยอมรับว่าเป็นประโยชน์มากในการนำแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงที่มีค่าสำหรับการทำสงคราม

ดังนั้นการนำเอาความคิดของชาวอังกฤษมาใช้จึงเกิดขึ้นในประเทศเยอรมนีเป็นที่แรกเมื่อปี 1916

เมื่อเป็นเช่นนี้ประเทศอังกฤษ และประเทศในยุโรปทั้งสองฝั่งของสงคราม จึงได้นำแนวคิดของ วิลเล็ตต์ มาใช้อย่างรวดเร็วและ ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1918 หลังจากเข้าสู่สงคราม

หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกแล้ว สหราชอาณาจักร และประเทศอื่นๆ ยังคงใช้การเปลี่ยนเวลาต่อไป

แต่บางประเทศก็ยกเลิก ด้วยเหตุผลจากความไม่สอดคล้องกันในบางส่วนของประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และทั่วโลกทำให้เกิดปัญหาเหตุการณ์ผิดปกติและโศกนาฎกรรมเป็นครั้งคราว

ภาพการประท้วงเล็กๆ กับเรื่องการเปลี่ยนเวลา เด็กๆ อาจไม่ยอมรับเรื่องการตื่นนอนเร็วขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนในคืนวันเสาร์ เช้ามืดวันอาทิตย์ และทำให้เวลาในการเล่นของเด็กๆ หายไป 1 ชั่วโมง

ข้อมูล : https://www.historyextra.com/period/20th-century/history-why-clocks-change-daylight-saving-time-summer/

Hits: 620


อย่าพลาดเรื่องนี้ >  ผับอังกฤษ มั่นใจ 15 มิ.ย. นี้ เปิดแน่ แช่รอแล้ว 250 ล้านแก้ว