มารู้จักกับ “อาหารประจำชาติอังกฤษ” กัน
ส่วนใหญ่อาหารต่างๆ เหล่านี้ มักจะเป็นเมนูประจำในผับ หากใครมีเวลามาท่องเที่ยวพักผ่อนกันที่อังกฤษ หรือสหราชอาณาจักร ทั้งในลอนดอน หรือเมืองต่างๆ ก็ลองสละเวลาตอนเย็นๆ ค่ำๆ มานั่งสัมผัสกับบรรยากาศในผับซึ่งมีอยู่ทุกซอกทุกมุมของเมืองกันดู พร้อมกับสั่งเครื่องดื่ม (แอลกอฮอล์) อย่าง Ele ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่เป็นเอกลักษณ์ของอังกฤษกันดู ก็จะยิ่งเพิ่มรสชาติให้กับการท่องเที่ยวให้ซึ่มซาบในการใช้ชีวิตแบบอย่างชาวอังกฤษดูด้วยก็จะดีมากนะครับ

เวลาแอดมินทำงาน มักจะได้รับคำถามจากลูกค้าเสมอๆ ว่าอาหารประจำชาติอังกฤษมีอะไรกันบ้าง วันนี้ก็เลยพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับอาหารประจำชาติของเขา ว่ามีอะไรกันบ้างดีกว่านะครับ.. เผื่อใครมีโอกาสมีเที่ยวอังกฤษ จะได้ไปหารับประทานกันได้
ส่วนใหญ่อาหารต่างๆ เหล่านี้ มักจะเป็นเมนูประจำในผับ หากใครมีเวลามาท่องเที่ยวพักผ่อนกันที่อังกฤษ หรือสหราชอาณาจักร ทั้งในลอนดอน หรือเมืองต่างๆ ก็ลองสละเวลาตอนเย็นๆ ค่ำๆ มานั่งสัมผัสกับบรรยากาศในผับซึ่งมีอยู่ทุกซอกทุกมุมของเมืองกันดู พร้อมกับสั่งเครื่องดื่ม (แอลกอฮอล์) อย่าง Ele ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่เป็นเอกลักษณ์ของอังกฤษกันดู ก็จะยิ่งเพิ่มรสชาติให้กับการท่องเที่ยวให้ซึ่มซาบในการใช้ชีวิตแบบอย่างชาวอังกฤษดูด้วยก็จะดีมากนะครับ
เอาล่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้างที่เป็นเมนูประจำเมืองผู้ดีเขา
Fish and Chips
เป็นอาหารที่นิยมที่สุดในบริเทน มีร้านกระจายอยู่ทั่วไป ซื้อหาได้ง่าย ถ้าเป็นแบบดั้งเดิม จะเสิร์ฟด้วยห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ (เหมือนซื้อกล้วยแขกในเมืองไทยเมื่อ 30 ปีก่อน) เดี๋ยวนี้เขาเปลี่ยนเป็นกระดาษซับน้ำมันไม่มีหมึกพิมพ์เปื้อนให้อันตรายกันแล้วครับ
เล่ากันว่า ปลาทอดกับมันฝรั่งนี้ ปรากฎตัวขึ้นราวศตวรรษที่ 16 คาดว่าน่าจะมาจากผู้อพยพชาวยิว ที่มาจากสเปนหรือโปรตุเกสนาย แต่มามีกำเนิดชัดเจนกันเมื่อประมาณปี 1860 เมื่อนายโจเซฟ มาลิน ชาวยิว เปิดร้านขาย Fish and Chips นี้ในลอนดอน ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนก็นิยมกินกันแพร่หลายไปทั่ว
ส่วนคนที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิคบางส่วนก็เว้นการกินเนื้อสัตว์ มากินเนื้อปลาแทน ในวันศุกร์
คนอังกฤษบางส่วนไม่นิยมราดซอสมะเขือเทศไปบนมันฝรั่งทอด แต่ใช้น้ำส้มสายชูเหยาะกับเกลือแทน ก็มีเสน่ห์ในรสชาติไปอีกแบบครับ
คนไทยเรา สั่งมากินไม่ค่อยหมดกันหรอกครับ มักจะเหลือแต่ชิป (มันฝรั่งทอด) ดังนั้นถ้ามีโอกาสมาเที่ยว ลองสั่งกันดูครับ… แต่ 2 คนที่เดียวก็พอรองท้องได้สบายๆ
Bangers and Mash

เป็นอาหารพื้นบ้านสไตล์ครอบครัว ของเกรทบริเทน และไอร์แลนด์ มีไส้กรอกทอด (Bangers) มีมันฝรั่งนึ่งบดผสมเนยและนมสด (Mash Potatoes) หัวหอมใหญ่ผัดเนย ราดน้ำเกรวี่
ข้อสงสัยว่าทำไมเรียกว่าแบงเกอร์ส ไม่ได้เรียกว่า Sausages ว่ากันว่า หลังสงครามครั้งที่ 1 เนื้อสัตว์ขาดแคลนทำให้ต้องผสมอาหารประเภทแป้งแปรรูปผสมน้ำในไส้กรอก ซึ่งมีเนื้อสัตว์ในปริมาณน้อย เมื่อนำไปทอด ทำให้มีเสียงน้ำหยดในน้ำมันเดือด Bang bang (หรือปังๆ ในภาษาไทย) จึงถูกเรียกว่า Bangers นั่นเอง
Full English Breakfast

เป็นอาหารมื้อเช้าประจำชาติของชาวบริติช โดยส่วนใหญ่อาจจะมีการเปลี่ยนบางส่วนเข้า-ออกไปบ้าง สำหรับต่างพื้นที่ หรือความสะดวกในแต่ละวัน
ของหลักๆ ที่มีอยู่ก็คือ ไส้กรอก, ไข่ดาว, ขนมปังปิ้ง, เบคอน, มะเขือเทศย่าง, เห็ดผัด และถั่วต้มซอสมะเขือเทศ และเด็ดสุดคือ Black Pudding คือไส้กรอกสีดำ ทำจากหมูสับและเลือดแห้งของหมู
ส่วนใหญ่จะมีซอสขวดมะเขือเทศ พริกไท และเกลือตั้งบนโต๊ะให้โรยเพิ่มรสชาติเท่านั้น
Sunday Roast (Roast Dinner)

อาหารประจำชาติที่มักจะต้องไปหากินกันเฉพาะวันอาทิตย์ ตามผับ ซึ่งมักจะมีทั้งเนื้อวัว เน้อแกะ และเนื้อไก่ แต่อังกฤษพื้นบ้านบางแห่งก็มีหมูอบด้วย สำหรับผู้ที่กินอาหารมังสวิรัต ก็เป็นถั่วอบแทน
เครื่องเคียงที่ต้องมีประจำก็คือ ยอร์คเชียร์พุดดิ้ง มันฝรั่งอบ แครรอท ถั่วฝักยาว (ผักอื่นๆ) ราดด้วยน้ำเกรวี่
ประมาณศตวรรษ 14 ทหารราชองครักษ์พระราชา มักจะกินมีความนิยมกินเนื้อวัวอบกันทุกวันอาทิตย์ ก็เลยเรียกทหารองครักษ์ว่า Beefeater ส่วนประเพณีกันเนื้ออบ ก็ได้แพร่หลายมาสู่ประชาชนในภายหลัง
Toad in the hole

เป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมในอังกฤษและสก๊อตแลนด์ ที่นำแป้งทำยอร์คเชียร์พุดดิ้ง มาราดไปบนไส้กรอก นำเข้าไปอบให้สุก ปกติจะเป็นไส้กรอก แต่บางครั้งก็สามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ตามสะดวก ซึ่งเสิร์ฟกับหัวหอมผัด น้ำเกรวี่และผักต้ม
ส่วนชื่อที่แปลว่า “คางคกในหลุม” นั้นเดิมทีไม่ได้เรียกชื่อนี้ แต่มาปรากฎภายหลัง ว่ามีคนเรียกชื่อเปรียบเปรยว่า ชื่อนี้มีต้นกำเนิดจากเมือง Alnmouth (อัลมัธ) เขตนอร์ธทัมเบอร์แลนด์ สาเหตุจากสนามกอล์ฟในท้องถิ่น มีคางคกเป็นจำนวนมาก ดูแล้วหน้าตาเหมือนอาหารประเภทนี้ให้เห็นสภาพไส้กรอก ที่โผล่พ้นแป้งออกมาเหมือนหัวคางคก จึงเรียกว่า คางคกในหลุม นั่นเอง
Shepherd’s Pie/Cottage Pie

เป็นเนื้อแกะบดหรือหั่นแบบลูกเต๋า ตุ๋นอบในน้ำเกรวี่ มีมันฝรั่งบดชั้นบน ซึ่งถ้าทำด้วยเนื้อวัว ก็จะเรียกว่า Cottage Pie
ต้นกำเนิดจากไอร์แลนด์ แต่เนื้อเรื่องคล้ายๆ กัน นั่นก็กำเนิดมาเมื่อประมาณยุค 1700 ปลายๆ เข้าสู่ 1800 คือคุณแม่บ้านซึ่งสามีเป็นเกษตรกร ต้องประหยัดจึงหาวิธีนำอาหารที่ทำเหลือมาใช้ประโยชน์และต้องดูดี หอมหวน น่ารักประทาน จึงคิดสูตรที่นำเอาเนื้อตุ๋นเกรวี่รวมกับผักหลายๆ จึงออกมาเป็นสูตรนี้
ถ้ามีโอกาสได้ไปนั่งดื่มในผับไอริช จะเห็นว่าส่วนมากจะขายอาหารเมนูนี้ เพราะชาวไอริช กินเชพเพิร์ดพายส์ เป็นอาหารประจำชาติ รวมทั้งได้รับความนิยมทั่ว UK ด้วยเช่นกัน
Hits: 16111